วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปรเภทของพายุ

พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

1. พายุฝนฟ้าคะนอง
มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
พายุฟ้าคะนองนี้บางครั้งเรียก พายุไฟฟ้า (electrical storm) โดยทั่วไปเป็นพายุที่เกิดเฉพาะท้องถิ่น เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส มีฟ้าแลบ (lightning) กับฟ้าร้อง (thunder) รวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นมักจะมีลมกระโชกแรง (strong gust) และฝนตกหนัก (heavy rain) เกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บ (hail) ตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น มีน้อยครั้งที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง พายุฟ้าคะนองเป็นผลเนื่องมาจากในเขตร้อนอากาศมีความชื้นมากและมีอุณหภูมิสูงทำให้อากาศไม่มีเสถียรภาพ (instability) หรือบรรยากาศมีอาการไม่ทรงตัวเกิดการผสมคลุกเคล้าจากข้างล่างขึ้นข้างบน และจากข้างบนลงข้างล่าง ในขั้นแรกอากาศหรือบรรยากาศเกิดการไหลขึ้นอย่างรุนแรง (strong convective updraft) และในขั้นต่อมาซึ่งเป็นขั้นสลายตัว (dissipating stage) จะมีกระแสอากาศไหลลงอย่างรุนแรง (strong downdraft) ภายในคอลัมน์ (ช่วง) ของฝน พายุฟ้าคะนองนี้บ่อยครั้งก่อตัวได้สูงถึง 40,000 - 50,000 ฟุต ในบริเวณละติจูดกลาง (mid - latitude) และสูงมากกว่านี้ในเขตร้อน บรรยากาศตอนล่างของชั้นสตราโตสเฟียร์ที่มีเสถียรภาพดีมาก (great stability) เท่านั้นที่สามารถยับยั้งการก่อตัวของเมฆพายุฟ้าคะนองได้ ในทางอุตุนิยมวิทยาพายุฟ้าคะนองแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ แล้วแต่ธรรมชาติของกาลอากาศขณะนั้น เช่น พายุฟ้าคะนองแบบมวลอากาศ (air - mass thunderstorm) พายุฟ้าคะนองในแนวสควอลล์ (squall - thunderstorm) และพายุฟ้าคะนองแบบแนวปะทะอากาศ (frontal thunderstorm)

การเกิดของพายุฟ้าคะนอง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดพายุฟ้าคะนองได้แก่
· อากาศมีความชื้นสูง และ
· อากาศไม่มีการทรงตัวหรือไม่มีเสถียรภาพ (instability) หรือ อากาศไม่มีเสถียรภาพแบบมีเงื่อนไข (Conditional Instability) และ
· มีแรงยกที่ทำให้อากาศลอยตัวขึ้น (Lifting Action) เช่น แรงที่เกิดจากพาความร้อนในแนวดิ่ง แนวปะทะอากาศชนิดใดชนิดหนึ่ง แนวเทือกเขา แนวลมพัดสอบเข้าหากัน
ระยะของการเกิดพายุฟ้าคะนองอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นดังนี้
ระยะเวลาการเกิดพายุฟ้าคะนองเซลเดี่ยวๆ (Single Cell) โดยแบ่งช่วงตามขั้นตอนการเกิดดังนี้
· ขั้นคิวมูลัส ใช้เวลา 10-15 นาที
· ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ ใช้เวลา 15-30 นาที
· ขั้นสลายตัว ใช้เวลา 30 นาที
2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ
เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy) พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง
3.ลมสลาตัน
เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น